ijemmy

A software engineer who strayed to study management - I am passionate about software design, code quality, technical leadership, and Siberian Husky.

Homepage: https://ijemmy.wordpress.com/

207 – ตั้งเงื่อนไขแล้วทำ

หนึ่งในวิธีที่ผมพบว่ามีประโยชน์ในการแก้อาการผัดวันประกันพรุ่ง (procastination)  คือการวางแผนล่วงหน้า โดยตั้งเงื่อนไขแล้วทำเลย

ตัวอย่างเช่น กลับบ้านแล้วจะเขียนบล็อค ถึงปุ๊บ ไม่ต้องทำอะไร เขียนก่อนเลยเป็นอันดับแรก

หรือวันอาทิตย์นี้จะทำความสะอาดบ้าน ตื่นปุ๊บ กินข้าว เสร็จแล้วก็เริ่มทำเลย (เรื่องกินยังยิ่งใหญ่กว่าอยู่เสมอ :P)

หลังจากนั้นก็ทำตามแผน ว่าพอเสร็จงานแรก จะพักกี่นาที แล้วก็ทำงานถัดไปตามที่วางแผนไว้

ที่สำคัญคือต้องไม่คิด ว่าอยากทำหรือไม่อยากทำ แค่ทำไปเลย ตามนั้น

อาจจะคล้ายๆกับแนวคิดของ Eat the ugliest frog the first thing in the morning  คือ ให้ทำสิ่งที่ไม่อยากทำที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก แล้วสิ่งอื่นๆจะง่ายขึ้นมาเอง


ถ้าจะอธิบายว่าทำไมมันทำให้ง่ายขึ้น มันมีแนวคิดว่า มนุษย์เรามมีอ Will power ที่จำกัดในแต่ละวัน

การจะทำสิ่งที่เราไม่อยากทำ  จะต้องใช้พลังงาน Will power ตัวนี้ แล้วพอหมด มันก็จะดับไปดื้อๆ

การตั้งเงื่อนไขแล้วทำ จะช่วยลดปริมาณ Will power ที่เราใช้

พอเราฝึกทำตามแผนบ่อยๆ เราก็จะใช้ปริมาณพลังงานตัวนี้น้อยลงในการทำตามแผน ทำให้การทำสิ่งที่ไม่อยากทำนั้นง่ายขึ้น

 

Leave a comment

206 เรียนรู้วิธีเรียน – 1

ผมเป็นคนที่โชคดีที่เรียนดีมาตลอด ตอนเด็กๆได้ 4 เกือบหมด ป.ตรีจบมา 3.8  ส่วนป.โทก็ได้เกิน 80% (Cum Laude)

เน้นผมใช้คำว่า”โชคดี” ไม่ใช่”ฉลาด” และไม่ใช่”เก่ง”

พอโตขึ้น ได้มาอ่านเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้และความจำของมนุษย์ ถึงเข้าใจว่าเลือกวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพลำดับต้นๆในการเรียน  เลยทำให้จำสิ่งต่างๆได้ง่าย และทำข้อสอบได้

นับเป็น”โชค” ไม่ใช่ความสามารถ (แต่มีความพยายามด้วยนะ)

แถมวิธีนี้ไม่ได้ซับซ้อนอะไร  มองกลับไป คนส่วนใหญ่ที่ผมรู้จักเลือกวิธีที่มีประสิทธิภาพห่วยเป็นลำดับต้นๆในการเรียนรู้  โชคดีที่ผมไม่ได้เลือกวิธีนั้น

เรามาเริ่มต้นจากวิธีที่มีประสิทธิภาพห่วยกันก่อน

นั่นคือการขีดไฮไลท์

ถ้าใครทำอยู่ ลองเปลี่ยนวิธีนะครับ มันสวยก็จริงแต่มันไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ

ตอนเด็กๆผมไม่มีไฮไลท์เพราะมันแพง เลยไม่ได้ใช้วิธีนั้น  จะมีก็ขีดเส้นใต้เอา ขีดไปสักพักก็รู้สึกว่าแม่งขีดหมดทั้งหน้าเลยนี่หว่า เลยเลิกขีด

สุดท้าย ผมมาจบด้วยวิธีที่มีชื่อภาษาอังกฤษเก๋ๆว่า Active recall และ Spaced Review

Active recall ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย คือหลังอ่านเสร็จหนึ่งบทย่อย (หรือหนึ่งหัวข้อ ประมาณ 2-5 หน้า)  ผมจะปิดหนังสือ แล้วก็ไล่ให้ครบว่าเนื้อหาที่อ่านไปมีใจความอะไรบ้าง แล้วก็พยายามอธิบายให้ตัวเองฟัง (หรือลองนึกว่าอธิบายให้เด็กห้าขวบฟังก็ได้) โดยไม่ดูหนังสือ

รอบแรกๆมันจะทรมานมาก เพราะจำเห้ไรไม่ได้เลย

มันเป็นจุดที่ทำให้รู้ว่าการอ่านเนี่ย หลายๆครั้งมันไม่ได้ช่วยเอาเข้าสมองเลย และทำให้รู้ว่า ส่วนไหนที่เราจำไม่ได้

พอถึงจุดนี้แล้ว ก็กลับไปเปิดหนังสือ ไล่ดูใหม่ว่าลืมอะไรไปบ้าง  แล้วก็ปิดหนังสือ อธิบายใหม่อีกรอบ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนผ่านหนึ่งบทย่อย

พออ่านจบบท (ประมาณ 15-20 หน้า) ผมจะทำสรุปอีกรอบ ซึ่งตรงตามหลักของ Spaced Review

แนวคิดของวิธีนี้เกิดจากงานวิจัยที่ว่า 50% ของสิ่งที่เราจำได้ จะถูกลืมในวันแลก 80% จะลืมใน  2-3 วัน และ >90% จะหายไปในหนึ่งเดือน

ซึ่งสำหรับผม 50% มันจะหายไปแถวๆชั่วโมงแรกนี่แหละ  ไม่ต้องรอให้ครบวัน

การทวนซ้ำ (ด้วยการทำสรุปหัวข้อ)  เป็นการทำ Spaced Review ครั้งแรก และเตรียมการสำหรับ Space Review ครั้งถัดๆไป

ผมจะสรุปหัวข้อเป็นแบบ Hierarchy (ถ้าบางคนชอบ mind map ก็ใส่ไป)   และใจความที่ผมจำมาในแต่ละบทย่อย ไว้ลงกระดาษ A4 ไม่มีลายเส้น

หลังจากนั้นวันพรุ่ง และวันถัดๆไป (ถ้านี่ไม่ใช่คืนก่อนสอบ) ผมจะเอากระดาษ A4 มานั่งอ่านผ่านตา ใช้เวลา 1-2 นาที ต่อแผ่น โดยวิธีการทวนก็คือการทำ Active Recall อีกรอบนึงแบบรวบรัด ถ้าลืมก็เปิดแผ่นสรุปขึ้นมาดู  ถ้ายังจำเนื้อหาไม่ได้จากแผ่นสรุป ก็เปิดหนังสือไล่หาใจความที่ลืมไป

วิธินี้  ทำให้ผมทวนทุกอย่างได้ครบในระยะเวลาอันสั้น แทนที่จะต้องอ่านซ้ำใหม่หมด และทำการฟื้นฟูความจำก่อนจะลืม

เดี๋ยวบล็อคหน้าผมจะมาอธิบายเทคนิคการจำ  ที่ผมใช้เวลาต้องจำ bullet point เป็นร้อยกว่าหัวข้อ เพื่อเอาไปนั่งเขียนอธิบายในห้องสอบ เทคนิคเหล่านี้จะทำให้ทำ Active recall ได้ง่ายขึ้น

 

3 Comments

205 คุยเรื่องดีไซน์แต่เนิ่นๆ

วันนี้นั่งทำดีไซน์ แล้วเอาไปให้คนในทีมรีวิว

ปรากฏว่าผิดทาง คนที่ทำ Backend อยู่หวังคนละแบบเลย

แม้สุดท้ายจะจบกันครึ่งทาง แต่ก็ทำให้เสียเวลาไปมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาเขียน Doc ไปให้รีวิว)

คราวหน้าจะคุยเรื่องดีไซน์แต่เนิ่นๆ น่าจะทำให้ลด Waste ได้มากกว่านี้

Leave a comment

204 Self-reflection 2016

สุขภาพ

  • ม.ค. ต้นปีป่วยค่อนข้างหนัก หลังจากนั้นก็ไม่ป่วยหนักอีกเลย
  • ธ.ค. ขี่จักรยานพลาด ดริฟลงไปกองกับพื้น ใช้เวลาเกินกว่าสัปดาห์ก่อนจะหายสนิท พอแก่ตัวลงนี่ร่างกายดูจะฟื้นตัวช้าลงจริงๆ
  • เรื่องปวดคอยังคงมีอาการบ้าง แต่ไม่เป็นหนักเหมือนปีที่แล้ว
  • สายตาแย่ลงมาก พึ่งค้นพบว่าไฟในห้องสว่างน้อยมาก เดือนธ.ค.เลยติดหลอดไฟเพิ่ม
  • หยุดเล่นเกมได้สองเดือน สถิติใหม่
  • โดยรวมไม่มีดีไม่มีแย่ลง  แต่ยังออกกำลังกายเป็นประจำไม่สำเร็จเหมือนเดิม

Technical skills

  • ย้ายมาทำงานที่อเมซอน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างเยอะมาก
    • ได้ใช้ Linux CLI, Vim อย่างจริงจัง
    • ได้ใช้ Docker  แล้วก็ค้นพบว่าแม่งไปไวมาก
    • อ่าน AWS เตรียมสอบ SA
    • อ่าน React  ปีนี้อาจจะมีโอกาสได้ลงมือทำจริง
  • ความรู้ด้าน Build Tool ต่างๆของ JavaScript เมื่อปี 2015 โดน Outdated ไปหมดแล้ว สมัยก่อนแค่ใช้ Gulp ก็ถือว่าเท่แล้ว เดี๋ยวนี้ต้องมี Webpack, Browserify, อะไรไม่รู้เยอะแยะไปหมด ฝั่ง Frontend นี่ไปไวจริงๆ
  • เทียบกันแล้วฝั่ง Backend เสถียรกว่ามาก  แต่ก็ยังมีภาษา JVM ใหม่ๆหลายๆตัว
  • ไม่ได้ลอง Scala ซักที

การเงิน

  • เคยคิดจะทำคอร์สสอน Java 8 ออนไลน์บน Udemy ตั้งแต่ปี 2014  ถ้าตอนนั้นกลั้นใจทำได้สำเร็จอาจมี passive income ไปแล้ว ตอนนี้ตลาดแดงเถื่อก แม้แต่ในไทยก็มีคนทำคอร์สขายเต็มไปหมด
  • ในที่สุดก็กลับมาทำบัญชีรายรับรายจ่าย  หลังจากรู้สึกว่ารายจ่ายเยอะมาก เงินหายไปไหนหมด

Soft skill

  • อันนี้ดูพัฒนา ไปเยอะ ลองเป็น Mentor ครั้งแรก ของ EMA  ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร
  • ลองสมัครเป็น Instructor  ในอเมซอนดู หวังว่าปีนี้คงได้ลองทำจริงๆจังๆ

Leave a comment

203 ลงมือทำกับอ่านเฉยๆต่างกันมากจริงๆ

วันนี้นั่งลองเขียนเว็บง่ายๆด้วย React.js หลังจากอ่านหนังสือจบรอบหนึ่งเมื่อหลายดเดือนที่แล้ว

พอลองเขียนดู ค้นพบว่าใช้เวลานานมากๆ – -” ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ลอจิก แต่อยู่ที่เราไม่รู้ว่าควรจะส่ง state ยังไง ด้วยคำสั่งไหน เวลาเซ็ตผิดแล้ว error ที่ว่านี่มันหมายถึงอะไร ฯลฯ

ถ้าแบ่งขั้นตอนการเรียนรู้ ผมแบ่งเป็นสามระดับ

  1. อ่าน/ฟัง  – ขั้นตอนปกติที่คนทั่วไปทำ ปัญหาคือ เรามักจะคิดว่าเราเข้าใจหรือทำได้แล้ว  เหมือนเวลาอ่านการพิสูจน์ในฟิสิกส์แล้วเข้าใจ
  2. เขียน/ลงมือทำ  – เหมือนเวลาปิดหนังสือ แล้วให้เขียนสรุปใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่าเขียนไม่ได้ ต้องกลับไปดู
  3. สรุปในคำพูดของตนเอง/สอน – เขียนพิสูจน์ได้ แต่ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจเป็นฉากๆได้ ไม่สามารถต่อกลับไปยังภาพใหญ่ของหัวข้อได้

คนส่วนใหญ่มักจะจบลงที่ขั้นตอนแรก ทำให้เวลาลงมือทำจริงทำไม่ได้  และลืมได้ง่าย (หรือจริงๆไม่ได้เข้าไปในสมองด้วยซ้ำ)

การจะทำให้เรา”รู้”ในวิชานั้นจริงๆ จะต้องไปถึงจุดที่สามารถสรุปในคำพูดของตนเองได้  หรือจะให้ดี คือสอนให้คนอื่นเข้าใจง่าย

Leave a comment